ประวัติต้นธูปฤาษี

ต้นธูปฤาษี

     ต้นธูปฤาษี เป็นวัชพืชลักษณะคล้ายพืชพวกกกจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุประมาณ 2-3 ปีเป็นวัชพืชที่มีการเจริญเติมโตได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีดอกที่ใช้ในการสืบพันธ์ุเป็นจำนวนมาก เมื่อต้นธูปฤาษีออกสีน้ำตาลเป็นแท่งกลมโผล่ขึ้นมาจากยอด ติดเมล็ดง่ายเมื่อเมล็ดแก่ปลิวไปตามลม ซึ่งเป็นส่วงหนึ่งที่ทำให้ขยายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง


     อีกทั้งต้นธูปฤาษีขึ้นได้ตามหนองน้ำ บึง และตามสถานที่รกร้างว่างเปล่า อีกด้วย ปัจจุบันต้นธูปฤาษีพบอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศไทยการเจริญเติมโตของต้นธูปฤาษีเป็นสาเหตุให้ดินเสื่อมสภาพเพราะขาดแร่ธาตุ เนื่องจากถูกนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตมากเกินไป ดังนั้นจึงต้องกำจัดต้นธูปฤาษีลง ในการกำจัดต้นธูปฤาษีนั้นค่อยข้างยากเพราะมีลำต้น หรือ เง้าใต้ดินที่แข็งแรกยากแก่การทำลาย


     ต้องใช้แรงงานคนซึ่งต้องเสียแรงงานอย่างมาก หรือ เครื่องจักรลตัดฟัน การเผาแลกใช้สารเคมี อันก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทั้งสิ้งอีกทั้งการทำลายยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้ม นอกจากนี่ต้นธูปฤาษียังเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตย์ร้ายต่างๆ มากมายที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์อีกด้วย


ประวัติความเป็นมา จักสานต้นธูปฤาษี

     โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ตั้งอยู่บนพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ย ได้มีทำแปลงทดลองปลูกพืชประเภท กก (ต้นธูปฤาษี) เพื่อบัดน้ำเสีย ต้นธูปฤาษีเป็นวัชพืชที่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว และเจริญเติบโตไวมากในพื้นที่ที่ทำการเกษตร แต่เป็นพืชที่มีประโยชน์มากในด้านการบำบัดน้ำเสียและ มีวัฏจักรในการเติบโตและการดูดซึมสารอาหารในระยะเวลาจำกัด และเมื่อครบกำหนด 90 วัน จะต้องมีการตัดเพื่อให้แตกกอใหม่ ส่วนที่ตัดไปก็จะนำไปทิ้งไว้เฉย ๆ ทางโครงการจะได้คิดหาวิธีที่จะนำต้นธูปฤาษีกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อให้มีมูลค่าและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากขึ้น จึงได้นำแนวคิดที่จะทำผลิตภัณฑ์แปรรูปต้นธูปฤาษี เพื่อให้คนในชุมชนในหมู่บ้านซึ่งประกอบอาชีพประมงได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน